ประวัติการตั้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม และการตั้งสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ณ กรุงโรม

Release Date : 17-11-2020 09:05:28
ประวัติการตั้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม และการตั้งสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ณ กรุงโรม

ประวัติการตั้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม และการตั้งสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ณ กรุงโรม พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยาสยามนุกูลกิจสยามิตรมหายศ (เซอร์ จอห์น บาวริ่ง) เป็นอัครราชทูตพิเศษเฉพาะเรื่องการทำสัญญาทางพาณิชย์กับนานาประเทศและ เป็นที่ปรึกษาทูต โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงลอนดอน โดยพระราชสาส์นตราตั้งสำหรับอังกฤษ ๓๐ ก.ย.๒๔๔๐ และสำหรับเบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และนอร์เวย์ ลง ๑๘ พ.ค.๒๔๑๑ พ.ศ.๒๔๒๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ในขณะที่ทรงดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย ดำรงตำแหน่ง “อัครราชทูตวิเศษ” (Envoy Extra-ordinary and Plenipotentiary) ประจำราชสำนักและสำนักต่างๆ ในยุโรป รวม ๑๐ แห่ง โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๔๒๖ เปิดสถานอัครราชทูต ณ กรุงปารีส มีเขตอาณาครอบคลุมฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี พ.ศ.๒๔๕๖ จัดตั้งสํานักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยจัดส่ง ร.อ. หม่อมเจ้า อมรทัต กฤดากร ไปเป็นผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ในนามของ “ผู้ช่วยทูตในราชการทหารบก” ประจําในยุโรป รับผิดชอบอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และอิตาลี พ.ศ.๒๔๕๗ เปิดสถานอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีเขตอาณาครอบคลุมอิตาลี ออสเตรีย สเปน และโปรตุเกส พ.ศ.๒๔๗๔ สถานอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน และกรุงโรม ได้ปิดทำการ โดยให้สถานอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน มีเขตอาณาครอบคลุมเยอรมัน เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ และให้สถานทูต ณ กรุงปารีส มีเขตอาณาครอบคลุมเบลเยี่ยม เนเธอร์แลน อิตาลี พ.ศ.๒๔๗๕ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ยุติการส่งผู้ช่วยทูตฝุายทหารไปประจําในยุโรป พ.ศ.๒๔๘๒ สถานอัครราชทูต ณ กรุงโรม ได้เปิดทำการโดยมีเขตอาณาครอบคลุมอิตาลี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้มีการแต่งตั้งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร และการคลังไปประจำการในสถานเอกอัครราชทูต และสถานอัครราชทูตที่มีความสำคัญ พ.ศ.๒๔๘๑ แต่งตั้ง พ.อ.หม่อมสนิทวงศ์เสนีย์ เป็นผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารประจําการ โดยรับผิดชอบประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และเบลเยี่ยม ในช่วงเวลานี้การจัดส่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร มีวัตถุประสงค์ในการเชื่อมความสัมพันธ์ การศึกษา และการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ พ.ศ.๒๔๘๑ ทร.ว่าจ้างอู่ต่อเรือ Cantieri Riuniti dell’ Adraitico Monfalcone ของอิตาลี ตั้งอยู่ที่เมือง Trieste ต่อเรือชั้นลาดตระเวนเบา จำนวน ๒ ลำ (ต่อมาโครงการยุติลง เนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ ๒) พ.ศ.๒๔๘๕ เปิดสถานอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีเขตอาณาครอบคลุมอิตาลี พ.ศ.๒๔๘๖ ทร. ได้แต่งตั้งให้ น.อ.หลวงเจียรกลการ (เจียม เจียรกุล) เป็น ผชท.ทร.ไทย/โรม คนแรก (พ.ศ. ๒๔๘๖ – ๒๔๙๐) แต่เป็นห้วงเวลาที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มโจมตีอิตาลี สถานอัครราชทูต ณ กรุงโรม จึงได้ปิดลง และอัครราชทูต ณ กรุงโรม ได้ย้ายถิ่นพำนักไปยังสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากนั้นก็มิได้บรรจุ ผชท.ทร.ไทย/โรม อีก เนื่องจากผลของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๙๐ – ๒๔๙๘ เปิดสํานักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ณ ประเทศสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ญี่ปุุน ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน อินโดนีเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา อินเดีย เวียดนาม และไทเป พ.ศ.๒๔๙๕ เปิดสถานอัครราชทูต ณ กรุงโรม พ.ศ.๒๔๙๙ ยกระดับสถานอัครราชทูต ณ กรุงโรม เป็นสถานเอกอัครราชทูต พ.ศ.๒๕๓๒ ทร. ได้สั่งต่อเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ จำนวน ๓ ลำ (ร.ล.ราชฤทธิ์ ร.ล.วิทยาคม ร.ล.อุดมเดช) จากอิตาลี ทร.จึงได้บรรจุ ผชท.ทร.ไทย/โรม อีกครั้ง ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๓๒ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดย กห.ได้ลงคำสั่งให้ ผชท.ทร.ไทย/โรม รรก.ผชท.ทหาร ไทย/โรม อีกตำแหน่งหนึ่ง ตั้งแต่ ๑ ก.พ.๓๓ เป็นต้นมา โดยมีรายนามของ ผชท.ทร.ไทย/โรม ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๖ จนถึงปัจจุบัน ดังนี้ ๑. น.อ.หลวงเจียรกลการ (เจียม เจียรกุล) พ.ศ.๒๔๘๖ - ๒๔๙๐ ๒. น.อ.นรา ซึ้งถาวร ๑ ต.ค.๓๒ - ๓๐ ก.ย.๓๕ ๓. น.อ.ยงยุทธ นพคุณ ๑ ต.ค.๓๕ - ๓๐ ก.ย.๓๘ ๔. น.อ.ชัชวาลย์ อัมระปาล ๑ ต.ค.๓๘ - ๓๐ ก.ย. ๔๑ ๕. น.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ๑ ต.ค.๔๑ - ๓๐ ก.ย.๔๔ ๖. น.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ๑ ต.ค.๔๔ - ๓๐ ก.ย.๔๗ ๗. น.อ.บรรเจิด ศรีพระราม ๑ ต.ค.๔๗ - ๓๑ ม.ค.๕๐ ๘. น.อ.พงษ์เทพ หนูเทพ ๑ ก.พ.๕๐ - ๓๐ ก.ย.๕๒ ๙. น.อ.วศินสรรพ์ จันทวรินทร์ ๑ ต.ค.๕๒ - ๓๐ ก.ย.๕๕ ๑๐.น.อ.สมบัติ นาราวิโรจน์ ๑ ต.ค.๕๕ - ๓๐ ก.ย.๕๘ ๑๑.น.อ.อนิรุธ สวัสดี ๑ ต.ค.๕๘ - ๓๐ ก.ย.๖๑ ๑๒.น.อ.วสันต์ ไตรจิต ๑ ต.ค.๖๑ - ๓๐ ก.ย.๖๔ ๑๓.น.อ.เมธีชัย แก้วนิล ๑ ต.ค.๖๔ - ปัจจุบัน ที่มา พล.ต.วิชัย ชูเชิด, “แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการทูตฝ่ายทหารเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๘๐)”, เอกสารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๖๐ ประจำปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑” บทความ “เรือ (รบ) หลวงที่มาไม่ถึงประเทศไทย”, นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๑, พ.ย.๒๕๕๕.

รูปภาพที่เกียวข้อง
ประวัติการตั้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม และการตั้งสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ณ กรุงโรม
ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง